วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (RING TOPOLOGY)

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (RING TOPOLOGY) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรก เชื่อมต่อกับสถานีสุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำข่าวสาร วิ่งไปบนสายสัญญาณ ของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเอง ต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อของ IBM Token Ring ที่ต้องมีตัวนำข่าวสาร หรือ Token นำข่าวสารวิ่งวนไปรอบสายสัญญาณหรือ Ring แต่ละสถานีจะคอยตรวจสอบ Token ว่าข่าวสารที่นำมาด้วยเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข่าวสารนั้นไว้ แล้วส่ง Token ให้สถานีอื่นใช้ต่อไปได้
                                               
                                              
                                                                    รูปที่ 1 แบบวงแหวน

ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบนี้คือ ใช้สายส่งสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อ ด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวด้วยความเร็วสูง
ข้อเสีย คือถ้าสถานีใดเสีย ระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใด และถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไป จะกระทำได้ยาก

ที่มา : http://portal.in.th/eleccom69/pages/6183/

การส่งต่อโทเคน (Token Passing)

          วิธีที่จะส่งข้อมูลในโทโปโลยีแบบวงแหวนเรียกว่าการส่งต่อโทเคน โทเคนเป็นข้อมูลพิเศษที่ส่งผ่านในเครือข่ายแบบวงแหวน แต่ละเครือข่ายจะมีเพียงโทเคนเดียวเท่านั้น โทเคนนี้จะส่งต่อกันไปเรื่อยๆ สำหรับเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลเมื่อได้รับโทเคนแล้วก็จะมีสิทธิ์ที่จะส่งข้อมูล การส่งข้อมูลก็ทำได้โดยใส่ที่อยู่ของเครื่องรับไว้ในข้อมูลแล้วส่งต่อๆ กันไป เมื่อข้อมูลมาถึงเครื่องปลายทาง หรือเครื่องที่มีที่อยู่ตรงกับที่ระบุในเฟรมข้อมูล เครื่องนั้นก็จะนำข้อมูลไปโพรเซสส์ และส่งเฟรมข้อมูลตอบรับกลับไปยังเครื่องส่งเพื่อบอกให้ทราบว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เมื่อเครื่องส่งได้รับการตอบรับแล้ว ก็จะส่งผ่านโทเคนต่อไปยังเครื่องถัดไป เพื่อเครื่องอื่นจะได้มีโอกาสส่งข้อมูลบ้าง


ที่มา : http://learners.in.th/blog/tasana/259827

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเข้าหัว RJ-45 แบบสายตรง

อุปกรณ์
       
1.สายแลน                                      2.หัว RJ-45                                    3.คัตเตอร์         
        
                                         
                                      
                     
                4.เครื่องเทสต์                             5.คีม                                          6.กรรไกร                               


            
       
ขั้นตอนการเข้าสายแลน RJ-45 แบบสายตรง

1.นำสายแลนมาปลอกเปลือกนอกนอก โดยใช้คัตเตอร์หรือกรรไกรตัด

รูปที่ 1 การปลอกสายแลน

2.คลี่สายแลนออกจากกัน

รูปที่ 2 การคลี่สายแลน

3.นำสายแลนมาเรียงใหม่ โดยการต่อสายแลน RJ-45 แบบสายตรงใหัจัดเรียงสีตามตารางด้านล่างนี้ (ทำทั้งสองข้าง)
ขาวส้ม --> ส้ม --> ขาวเขียว --> น้ำเงิน --> ขาวน้ำเงิน --> เขียว --> ขาวน้ำตาล --> น้ำตาล

รูปที่ 3 ตารางการเรียงสายแลน

4.จับสายแลนที่เรียงให้แน่นอย่าให้สายสลับกัน (ถ้าสายยาวเกินไปสามารถตัดออกได้) จากนั้นสอดสายแลนเข้าไปในหัว RJ-45 พยายามยัดเข้าไปให้ได้ลึกที่สุด

รูปที่ 4 การสอดสายแลน

5.นำสายแลนเข้าไปใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของ RJ-45 ในคีมที่จะใช้แค้มหัวให้ลงล็อกของคีมพอดี จากนั้นก็ให้ทำการกดย้ำสายให้แน่น 

รูปที่ 5 การแค้มหัว RJ-45

6.นำสายแลนที่แค้มหัวแล้ว มาทดสอบกับเครื่องเทสต์ ถ้าการต่อสายแลนแบบตรงให้สังเกตดูไฟทั้งสองข้างจะวิ่งพร้อมกัน

รูปที่ 6 การทดสอบสายแลน

เราก็จะได้สายแลน RJ-45 แบบสายตรง ที่เสร็จสมบูรณ์ 


ที่มา : http://www.board.esanupdate.com/index.php/topic,2425.0.html